BLOG TAAUM

Broadcast television ,PHP ,GIS ,POSTGIS ,POSTGRESQL ,MAPSERVER ,MAP ,MySQL

การทำระบบ Automation Studio นั่น จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ

1. การทำสคริป และเตรียมข้อมูลสำหรับการสร้างลำดับคอรเทนต์ในรายการซึ่งในที่นี้ยกตัวอย่างโปรแกรม Newsroom system ที่ชื่อ Octopus  ซึ่งโปรแกรมนี้จะประกอบไปด้วย คิวการแสดงผลออกไปที่อุปกรณ์ต่างๆ คนที่จะทำตำแหน่งนี้ได้จำเป็นต้องมีความเข้าใจรูปแบบรายการที่จะต้องการนำเสนอและต้องเข้าใจฟังก์ชั่นการทำงานของอุปกรณ์ที่จะนำเสนอออกรายการ เช่น กราฟฟิค เป็นต้น

2. การควบคุมอุปกรณ์ในสตูดิโอ ซึ่งที่ทำงานที่ผมออกแบบไว้นั้นใช้โปรแกรมชื่อ Viz Mosart ของบริษัท Vizrt ซึ่งโปรแกรมนี้จะรับข้อมูลมาจากระบบ Newsroom เพื่อมาสร้างลำดับการออกอากาศให้กับงานในสตูดิโอ ซึ่งจะใช้ MOS Protocol  ในการสื่อสารเป็นหลัก  อุปกรณ์ตัวนี้ความสามารถเต็มมันสามารถควบคุมได้ทุกอย่างคือ ภาพ,เสียง,แสง และ กราฟฟิค ขึ้ออยู่กับการดีไซน์ของแต่ล่ะสถานี
คนที่จะควบคุมในสตูดิโอนั้นจะต้องรู้จังหวะการนำเสนอ และมุมมองภาพที่จะออกอากาศ ซึ่งต้องสอดคล้องกับคนที่วางรันดาวน์มาจาก Newsroom ด้วยครับ

3. การดูแลระบบ เนื่องจากเราใช้งานเป็นระบบ Automation จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับผู้ที่จะดูแลระบบรวมถึงการมอนิเตอร์ให้พร้อมใช้งานทุกเมื่ออด้วยครับ ซึ่งจากประสบการณ์ การใช้งานจริง ระบบ Mosart ที่เป็นตัวหลักในการทำ Automation ที่สตูดิโอไม่ค่อยมีปัญหาโดยตรง แต่เราจะพบปัญหาบ่อยในเรื่องของการเชื่อมต่อไปในแต่ล่ะอุปกรณ์ เพราะระบบที่ใช้งานมาก่อนนั้น ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับงานอัตโนมัติ การให้ความเข้าใจคนทำงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

สรุปการจะใช้งาน ระบบ Studio Automation จะได้ผลลัพธ์ที่ดรนั้นต้องมีการวางระบบที่ดีและคนทำงานในทุกส่วนงานต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่วนตัวผมคิดว่าน่าสนใจสำหรับธุรกิจ Broadcast Content Production ในอนาคตที่ต้องใช้คนน้อยแต่สร้างงานที่ใหญ่และดีขึ้นได้

รูปสุดท้ายนี้เป็นระบบมอนิเตอร์ที่ผมเขียนขึ้นมาเองโดยใช้ภาษา PHP  Laravel5.4 เพื่อช่วยเรื่องการมอนิเตอร์ระบบว่าพร้อมสำหรับงานออกอากาศแล้วรึยัง

Tagged:

Related Posts